วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การใช้ flash เบื้องต้น







 เพลง ค่านิยมหลัก 12 ประการ


at Victory Monument "เหตุเกิด...ที่เสาวรีย์"

นิทานเรื่อง เหตุเกิด...ที่เสาวรีย์




 นิทานเรื่อง พระจันทกุมาร



นิทานเรื่อง เมื่อเสียสละถึงจะได้รับ



นิทานเรื่อง ความซื่อสัตย์


วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
      มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม  หมายถึง มีความคิดริเริ่มที่จะทำเพื่อส่วนรวม เช่น รวมตัวกันไปปลูกป่า รวมตัวกันรณรงค์เรื่อง ยาเสพติด







ความอดทน

ความอดทน หมายถึง  การรักษาปกติ ภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นไม่หวั่นไหว เช่น เมื่อถูกคนพาลกล่าวหาว่าร้าย ก็ทำราวกับว่าไม่ได้ยินทำหูเหมือนหูกระทะ เมื่อเห็นอาการยั่วยุก็ทำราวกับว่าไม่ได้เห็น ไม่สนใจใยดี ไม่ปล่อยใจให้เศร้าหมองไปด้วย ใส่ใจสนใจแต่ในเรื่องที่จะทำความเจริญให้แก่ตนเอง



ความเสียสละ 

เสียสละ หมายถึง การเสียสละที่แท้จริง
กลับไม่ได้รู้สึกว่าเสียอะไรไป เพราะเราสละสิ่งที่มีมากไป หรือ สละให้ได้โดยไม่รู้สึกเสียดาย ส่วนความปลื้มอิ่มเอมใจ เป็นอาการที่เกิดในขณะ ปัจจุบัน เช่น หน่องควีนมีเสื้อผ้ามาก จึงนำเสื้อผ้าไป บริจาคให้แก่คนยากจน


ความซื่อสัตย์ 

ซื่อสัตย์  หมายถึง แง่มุมหนึ่งของศีลธรรม แสดงถึงคุณลักษณะทางบวกและคุณธรรม อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความจริงใจ และความตรงไปตรงมา พร้อมด้วยความประพฤติตรง ตลอดจนการงดเว้นการโกหก การคดโกง หรือการลักขโมย เช่น ประสิทธิ์เจอเงิน 5000 บาท เขาเอาเงินนั้นไปให้แก่เจ้าของตัวจริง


ข้อที่ 2 ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
เราควรมีความซื่อสัตย์ เสียสละต่อผู้อื่น มีความอดทนอดกลั้น มีความคิดและอุดมการณ์ในทางที่ดีเพื่อผลประโยชน์ต่อส่วนรวม

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557


สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหามลภาวะแก่แม่น้ำคลอง

  1. น้ำเสียจากบ้าน ร้านค้าและอาคารที่ทำการ




 2. น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม


 3. ปุ๋ยที่ใช้ในการเกษตร


 4. ผิวดินที่พังทลาย


                      5. การเลี้ยงปศุสัตว์

6. ยาฆ่าแมลงและยากำจัดวัชพืช


7. ไฟป่า


โครงการชลประทาน - น้ำเน่าเสีย


ปัญหาน้ำเน่าเสียตามแหล่งน้ำและชุมชนต่างๆ ในทุกภาคของประเทศไทย เริ่มมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและระบบนิเวศอย่างชัดเจน ราว ๒-๓ ทศวรรษ ที่ผ่านมา เนื่องมาจากการพัฒนาตามความเจริญของบ้านเมืองและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงมีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากในเขตชุมชน โดยไม่มีการบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพดีถึงเกณฑ์มาตรฐานก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติตามที่ควร และน้ำเสียบางส่วนก็เกิดจากการระบายทิ้งจากบ้านเรือนโดยไม่มีการบำบัดอีกด้วย จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องหรือแต่ละชุมชนจะต้องเร่งรัด แก้ไขโดยเร่งด่วน
น้ำเน่าเสีย นอกจากจะมีความสกปรกโสโครก มีกลิ่นเหม็นและสีดำคล้ำแล้ว อาจมีสารเคมีซึ่งมีพิษเจือปนอยู่ด้วย เมื่อน้ำเน่าเสียไหลลงสู่แหล่งน้ำ ธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ก็จะทำให้แหล่งน้ำสะอาดนั้น กลายเป็นน้ำเสียจนไม่สามารถใช้น้ำจากแหล่งน้ำเหล่านั้นได้อีกต่อไป และอาจส่งกลิ่นเหม็น แพร่กระจายไปทั่ว เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อนามัย ตลอดจนความเป็นอยู่ของประชาชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณนั้น สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำอาจตายหรือต้องอพยพหนีไปอยู่ที่อื่น ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ไม่เพียงกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนเท่านั้น แต่จะกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจของประเทศด้วย
การบำบัดน้ำเน่าเสียตามแนวพระราชดำริแบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะคือ
น้ำเน่าเสียบำบัดโดยใช้เครื่องกลเติมอากาศ “กังหันน้ำชัยพัฒนา”
๑. โครงการบึงมักกะสัน กรุงเทพมหานคร
๒. โครงการบึงพระราม ๙ กรุงเทพมหานคร
๓. โครงการศึกษา วิจัย และพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียบริเวณหนองหาร จังหวัดสกลนคร
๔. โครงการศึกษา วิจัย และพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี
หลักการบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติแบบบ่อผึ่ง หรือบ่อตกตะกอน และระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย
(Oxidation Pond, Sedimental Pond and Lagoon Treatment)

พระราชดำริระบบบ่อบำบัดน้ำเสียและวัชพืชบำบัด (Lagoon Treatment and Grass Filtration) โครงการวิจัยและพัฒนาส่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจาก พระราชดำริตั่งอยู่ที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นโครงการศึกษา วิจัยวิธีการบำบัดน้ำเสียกำจัดขยะมูลฝอยและการรักษาสภาพป่า ชายเลนด้วยวิธีธรรมชาติ ตามแนวพระราชดำริที่มีสาระสำคัญสรุปได้ว่าปัญหาภาวะมลพิษมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของ ชุมชนเป็นอย่างมากสาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ ชุมชนเมืองต่าง ๆ ยังขาดระบบบำบัดน้ำเสีย และการกำจัดขยะมูลฝอยที่ดี และมีประสิทธิภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสว่า

 “…ปัญหาสำคัญคือ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสียกับขยะ ได้ศึกษามาแล้วเหมือนกันทำไมยากนัก ในทางเทคโนโลยีทำได้และในเมืองไทยเองก็ทำได้...ทำได้แต่ที่ที่นั้นต้องมีสัก ๕,๐๐๐ไร่...ขอให้ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ มาช่วยร่วมกันทำ ทำได้แน่...”

จากการศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้นมาก่อนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนานมาแล้วนี่เอง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สำนักงาน กปร. และกรมชลประทานร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมพร้อมกับสำรวจพื้นที่ดำเนินการพบว่าบริเวณ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ทั้งสิ้น ๑,๑๓๕ ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ ไม่มีปัญหาด้านเวนคืนที่ดินแต่อย่างใด เมื่อคณะทำงานนำผลการศึกษาในการจัดทำโครงการ ขึ้นกราบบังคมทูล ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเห็นด้วยกับรูปแบบและแนวความคิดดังกล่าว สำนักงาน กปร. และกรมชลประทาน จึงร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการฯ ขึ้นทูลเกล้าฯ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการตามแผนงานดังกล่าวได้การสนองพระราชดำริ ในโครงการนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยมูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงาน กปร. กรมชลประทาน กรมป่าไม้ กรมประมง เป็นต้น
๒. ระบบการบำบัดน้ำเสีย มีการสูบน้ำเสียจากคลองยางส่งไปตามท่อเป็นระยะทางถึง ๑๘ กิโลเมตร เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียที่ตำบลแหลมผักเบี้ย ซึ่งดำเนินการพร้อมกัน ๒ ระบบ คือ
- ระบบบำบัดน้ำเสีย
- ระบบกำจัดขยะ
ระบบบำบัดน้ำเสีย แบ่งออกเป็น
ก. ระบบบำบัดหลัก ประกอบด้วย ระบบบำบัดน้ำเสีย (Lagoon Treatment) มีจำนวน ๕ บ่อ ในพื้นที่ ๙๕ ไร่ น้ำเสียจะไหลเข้าตามระบบน้ำล้น ดังนี้คือ
- บ่อตกตะกอน (Sedimentation Pond)
- บ่อบำบัด ๑-๓ (Oxidation Pond)
- บ่อปรับคุณภาพน้ำ (Polishing Pond) น้ำเสียจะไหลเข้าสู่บ่อตะกอน แล้วผ่านเข้าไปยังบ่อบำบัดที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ตามลำดับ แล้วไหลล้นเข้าสู่บ่อปรับคุณภาพน้ำเป็นขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะระบายลงสู่ป่าชายเลนซึ่งน้ำเสียขั้นสุดท้ายนี้จะได้รับการตรวจสอบคุณภาพน้ำจากคณะวิจัยอย่างใกล้ชิด
ข. ระบบบำบัดรอง อยู่ระหว่างดำเนินการในพื้นที่ ประมาณ ๖๐ ไร่ ประกอบด้วย
- ระบบบึงชีวภาพ (Constructed Wetland) เป็นการดำเนินการโดยให้น้ำเสียผ่านบ่อดินตื้น ๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในบึงปลูกพืชที่มีรากพุ่งประเภทกกพันธุ์ต่างๆและอ้อ เป็นต้น ซึ่งพืชเหล่านนี้มีระบบรากแผ่กระจายยึดเกาะดิน และสามารถเจริญเติบโตดีในน้ำขังเสีย น้ำเสียจะเริ่มจากต้นบึงไหลล้นผ่านพืชต่างๆ ไปท้ายบึงอย่างต่อเนื่องโดยพืชทั้งหลายจะช่วยดูดซับสารพิษ และอินทรีย์สารให้ลดน้อยลงตลอดจนทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ให้หมดไป
- ระบบกรองน้ำเสียด้วยหญ้า (Grass filtration) โดยการปล่อยน้ำเป็นระยะ (Bat Flow) ผ่านเข้าไปในแปลงหญ้ามีขนาดและลักษณะเหมือนระบบบึงชีวภาพ ระบบแปลงหญ้านี้จะรับน้ำจากบ่อปรับคุณภาพน้ำ ของระบบบ่อบำบัดน้ำเสียเข้าไปขังในแปลงหญ้าเป็นระยะๆ นานครั้งละ ๑-๒ สัปดาห์ กระทั้งน้ำมีความสะอาดดียิ่งขึ้น
- ระบบกรองน้ำเสียด้วยป่าชายเลน (White and Red Mangrove) น้ำเสียจะได้รับการบำบัดผ่านเข้าไปในพื้นที่ ๓๐ ไร่ ที่ทำการปลูกป่าชายเลนซึ่งปลูกแบบคละผสมผสานกันในลักษณะที่เป็นธรรมชาติซึ่งน้ำที่ผ่านป่าชายเลน นี้จะได้รับการบำบัดจนเป็นน้ำที่ดีตามมาตรฐานเช่นกัน การนี้นับเป็นแนวพระราชดำริ ที่เป็นแบบฉบับแก่ชุมชนทั้งหลายทั่วประเทศ ได้ดำเนินการเจริญรอยตามพระยุคลบาท โดยยึดการดำเนินงานที่แหลมผักเบี้ยเป็นต้นแบบ

“กังหันน้ำชัยพัฒนา”
โดยปกติคุณภาพน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเช่น แม่น้ำ ลำธาร จะมีปริมาณออกซิเจน อิ่มตัวที่ละลายอยู่ในน้ำประมาณ ๘ มิลลิกรัมต่อลิตร หากเมื่อใดมีการปล่อยของเสียลงไปเป็นปริมาณมาก ก็จะก่อให้เกิดผลกระทบทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำลดน้อยลง เนื่องจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในน้ำตามธรรมชาติได้ดึงเอาออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเพื่อนำไปใช้ในการย่อยสลายความสกปรกที่อยู่ในรูปของสารอินทรีย์ ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดน้อยลงเรื่อยๆ จนกระทั่งน้ำขาดออกซิเจนอันก่อให้เกิดสภาวะน้ำเน่าเสีย ทำให้สัตว์น้ำโดยเฉพาะกุ้งและปลาไม่สามารถอาศัยอยู่ได้อีกต่อไป การเติมอากาศลงในน้ำจึงเป็นวิธีการที่จะช่วยรักษาปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ

ให้คงระดับที่สิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำสามารถอาศัยอยู่ได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ควรมีปริมาณไม่น้อยกว่า ๔ มิลลิกรัมต่อลิตร
วิธีธรรมชาติ
การบำบัดน้ำเน่าเสียโดยวิธีธรรมชาติโครงการบำบัดน้ำเน่าเสีย โดยวิธีธรรมชาติซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษา ทดลอง และวิจัยเพื่อหาข้อสรุปที่เหมาะสมกับแต่ละสภาพพื้นที่ประกอบด้วย
๑. เริ่มด้วยเทศบาลเมืองเพชรบุรี ดำเนินการสร้างท่อระบายรวบรวมน้ำเสีย (Combine Waste Water System) ส่งน้ำเสีย ไปยังสถานีสูบน้ำเสียที่คลองยาง ที่จุดนี้จะทำหน้าที่เป็นบ่อดักขยะเป็นบ่อตกตะกอนขึ้นต้นที่สามารถลดค่าความสกปรกไปได้ถึง ๔๐% 

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

รู้ค่าพลังงาน ตอน บำบัดน้ำเสียฯ



วิธีการแก้ปัญหา



   •การบำบัดน้ำเสียขั้นเตรียมการ (Pretreatment)
   -การดักด้วยตะแกรง เป็นการกำจัดของแข็งขนาดใหญ่โดยใช้ตะแกรง โดยใช้ ตะแกรงหยาบและ     ตะแกรงละเอียด
   -การบดตัดเป็นการลดขนาดหรือปริมาตรของแข็งให้เล็กลง ใช้เครื่องบดตัดให้ละเอียด ก่อนแยก     ออกด้วยการตกตะกอน
   -การดักกรวดทราย เป็นการกำจัดพวกกรวดทรายทำให้ตกตะกอนในรางดักกรวดทราย โดยการ         ลดความเร็วน้ำลง
   -การกำจัดไขมันและน้ำมันเป็นการกำจัดไขมันและน้ำมันซึ่งมักอยู่ในน้ำเสียที่มาจากครัว โรง           อาหาร ห้องน้ำ ปั๊มน้ำมัน และโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดโดยการกักน้ำเสียไว้ในบ่อดักไขมัน       ในช่วงเวลาหนึ่งเพื่อให้น้ำมันและไขมันลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำแล้วใช้เครื่องตักกวาดออกจากบ่อ



 •การบำบัดน้ำเสียขั้นที่สอง (Secondary Treatment)
    โดยทั่วไปมักจะเรียกการบำบัด ขั้นที่สองนี้ว่า "การบำบัดน้ำเสียด้วยขบวนการทาง                           ชีววิทยา" เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลาย หรือทำลายความสกปรก     ในน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียในปัจจุบันนื้อย่างน้อยจะต้องบำบัดถึงขั้นที่สองนี้ เพื่อให้น้ำเสียที่            ผ่าน การบำบัดแล้วมีคุณภาพมาตรฐานน้ำทิ้งที่ทางราชการกำหนดไว้ 




 • การบำบัดน้ำเสียขั้นสูง (Advanced Treatment)
    เป็นการบำบัดน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดในขั้นที่สองมาแล้ว เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกบางอย่างที่ยัง           เหลืออยู่ เช่น โลหะหนัก หรือเชื้อโรคบางชนิดก่อนจะระบายน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะการ         บำบัดขั้นนี้มักไม่นิยมปฏิบัติกัน เนื่องจากมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง 

สรุปประโยชน์ที่ได้จาการศึกษาและการนำไปใช้


•ทำให้เราได้ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย
•ทราบวิธีที่บำบัดน้ำเสีย
•นำข้อมูลที่ทราบไปบอกกับผู้คนในชุมชน เพื่อให้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสีย
•รักษาธรรมชาติ
•เพื่อป้องกันมิให้สัตว์น้ำเน่าตายจากสาเหตุน้ำเสีย
•เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีให้ผู้คนในชุมชนรับผิดชอบ และดูแลธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

แหล่งอ้างอิงข้อมูลที่น่าเชื่อถือ