วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557


สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหามลภาวะแก่แม่น้ำคลอง

  1. น้ำเสียจากบ้าน ร้านค้าและอาคารที่ทำการ




 2. น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม


 3. ปุ๋ยที่ใช้ในการเกษตร


 4. ผิวดินที่พังทลาย


                      5. การเลี้ยงปศุสัตว์

6. ยาฆ่าแมลงและยากำจัดวัชพืช


7. ไฟป่า


โครงการชลประทาน - น้ำเน่าเสีย


ปัญหาน้ำเน่าเสียตามแหล่งน้ำและชุมชนต่างๆ ในทุกภาคของประเทศไทย เริ่มมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและระบบนิเวศอย่างชัดเจน ราว ๒-๓ ทศวรรษ ที่ผ่านมา เนื่องมาจากการพัฒนาตามความเจริญของบ้านเมืองและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงมีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากในเขตชุมชน โดยไม่มีการบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพดีถึงเกณฑ์มาตรฐานก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติตามที่ควร และน้ำเสียบางส่วนก็เกิดจากการระบายทิ้งจากบ้านเรือนโดยไม่มีการบำบัดอีกด้วย จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องหรือแต่ละชุมชนจะต้องเร่งรัด แก้ไขโดยเร่งด่วน
น้ำเน่าเสีย นอกจากจะมีความสกปรกโสโครก มีกลิ่นเหม็นและสีดำคล้ำแล้ว อาจมีสารเคมีซึ่งมีพิษเจือปนอยู่ด้วย เมื่อน้ำเน่าเสียไหลลงสู่แหล่งน้ำ ธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ก็จะทำให้แหล่งน้ำสะอาดนั้น กลายเป็นน้ำเสียจนไม่สามารถใช้น้ำจากแหล่งน้ำเหล่านั้นได้อีกต่อไป และอาจส่งกลิ่นเหม็น แพร่กระจายไปทั่ว เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อนามัย ตลอดจนความเป็นอยู่ของประชาชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณนั้น สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำอาจตายหรือต้องอพยพหนีไปอยู่ที่อื่น ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ไม่เพียงกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนเท่านั้น แต่จะกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจของประเทศด้วย
การบำบัดน้ำเน่าเสียตามแนวพระราชดำริแบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะคือ
น้ำเน่าเสียบำบัดโดยใช้เครื่องกลเติมอากาศ “กังหันน้ำชัยพัฒนา”
๑. โครงการบึงมักกะสัน กรุงเทพมหานคร
๒. โครงการบึงพระราม ๙ กรุงเทพมหานคร
๓. โครงการศึกษา วิจัย และพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียบริเวณหนองหาร จังหวัดสกลนคร
๔. โครงการศึกษา วิจัย และพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี
หลักการบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติแบบบ่อผึ่ง หรือบ่อตกตะกอน และระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย
(Oxidation Pond, Sedimental Pond and Lagoon Treatment)

พระราชดำริระบบบ่อบำบัดน้ำเสียและวัชพืชบำบัด (Lagoon Treatment and Grass Filtration) โครงการวิจัยและพัฒนาส่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจาก พระราชดำริตั่งอยู่ที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นโครงการศึกษา วิจัยวิธีการบำบัดน้ำเสียกำจัดขยะมูลฝอยและการรักษาสภาพป่า ชายเลนด้วยวิธีธรรมชาติ ตามแนวพระราชดำริที่มีสาระสำคัญสรุปได้ว่าปัญหาภาวะมลพิษมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของ ชุมชนเป็นอย่างมากสาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ ชุมชนเมืองต่าง ๆ ยังขาดระบบบำบัดน้ำเสีย และการกำจัดขยะมูลฝอยที่ดี และมีประสิทธิภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสว่า

 “…ปัญหาสำคัญคือ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสียกับขยะ ได้ศึกษามาแล้วเหมือนกันทำไมยากนัก ในทางเทคโนโลยีทำได้และในเมืองไทยเองก็ทำได้...ทำได้แต่ที่ที่นั้นต้องมีสัก ๕,๐๐๐ไร่...ขอให้ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ มาช่วยร่วมกันทำ ทำได้แน่...”

จากการศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้นมาก่อนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนานมาแล้วนี่เอง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สำนักงาน กปร. และกรมชลประทานร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมพร้อมกับสำรวจพื้นที่ดำเนินการพบว่าบริเวณ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ทั้งสิ้น ๑,๑๓๕ ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ ไม่มีปัญหาด้านเวนคืนที่ดินแต่อย่างใด เมื่อคณะทำงานนำผลการศึกษาในการจัดทำโครงการ ขึ้นกราบบังคมทูล ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเห็นด้วยกับรูปแบบและแนวความคิดดังกล่าว สำนักงาน กปร. และกรมชลประทาน จึงร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการฯ ขึ้นทูลเกล้าฯ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการตามแผนงานดังกล่าวได้การสนองพระราชดำริ ในโครงการนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยมูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงาน กปร. กรมชลประทาน กรมป่าไม้ กรมประมง เป็นต้น
๒. ระบบการบำบัดน้ำเสีย มีการสูบน้ำเสียจากคลองยางส่งไปตามท่อเป็นระยะทางถึง ๑๘ กิโลเมตร เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียที่ตำบลแหลมผักเบี้ย ซึ่งดำเนินการพร้อมกัน ๒ ระบบ คือ
- ระบบบำบัดน้ำเสีย
- ระบบกำจัดขยะ
ระบบบำบัดน้ำเสีย แบ่งออกเป็น
ก. ระบบบำบัดหลัก ประกอบด้วย ระบบบำบัดน้ำเสีย (Lagoon Treatment) มีจำนวน ๕ บ่อ ในพื้นที่ ๙๕ ไร่ น้ำเสียจะไหลเข้าตามระบบน้ำล้น ดังนี้คือ
- บ่อตกตะกอน (Sedimentation Pond)
- บ่อบำบัด ๑-๓ (Oxidation Pond)
- บ่อปรับคุณภาพน้ำ (Polishing Pond) น้ำเสียจะไหลเข้าสู่บ่อตะกอน แล้วผ่านเข้าไปยังบ่อบำบัดที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ตามลำดับ แล้วไหลล้นเข้าสู่บ่อปรับคุณภาพน้ำเป็นขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะระบายลงสู่ป่าชายเลนซึ่งน้ำเสียขั้นสุดท้ายนี้จะได้รับการตรวจสอบคุณภาพน้ำจากคณะวิจัยอย่างใกล้ชิด
ข. ระบบบำบัดรอง อยู่ระหว่างดำเนินการในพื้นที่ ประมาณ ๖๐ ไร่ ประกอบด้วย
- ระบบบึงชีวภาพ (Constructed Wetland) เป็นการดำเนินการโดยให้น้ำเสียผ่านบ่อดินตื้น ๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในบึงปลูกพืชที่มีรากพุ่งประเภทกกพันธุ์ต่างๆและอ้อ เป็นต้น ซึ่งพืชเหล่านนี้มีระบบรากแผ่กระจายยึดเกาะดิน และสามารถเจริญเติบโตดีในน้ำขังเสีย น้ำเสียจะเริ่มจากต้นบึงไหลล้นผ่านพืชต่างๆ ไปท้ายบึงอย่างต่อเนื่องโดยพืชทั้งหลายจะช่วยดูดซับสารพิษ และอินทรีย์สารให้ลดน้อยลงตลอดจนทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ให้หมดไป
- ระบบกรองน้ำเสียด้วยหญ้า (Grass filtration) โดยการปล่อยน้ำเป็นระยะ (Bat Flow) ผ่านเข้าไปในแปลงหญ้ามีขนาดและลักษณะเหมือนระบบบึงชีวภาพ ระบบแปลงหญ้านี้จะรับน้ำจากบ่อปรับคุณภาพน้ำ ของระบบบ่อบำบัดน้ำเสียเข้าไปขังในแปลงหญ้าเป็นระยะๆ นานครั้งละ ๑-๒ สัปดาห์ กระทั้งน้ำมีความสะอาดดียิ่งขึ้น
- ระบบกรองน้ำเสียด้วยป่าชายเลน (White and Red Mangrove) น้ำเสียจะได้รับการบำบัดผ่านเข้าไปในพื้นที่ ๓๐ ไร่ ที่ทำการปลูกป่าชายเลนซึ่งปลูกแบบคละผสมผสานกันในลักษณะที่เป็นธรรมชาติซึ่งน้ำที่ผ่านป่าชายเลน นี้จะได้รับการบำบัดจนเป็นน้ำที่ดีตามมาตรฐานเช่นกัน การนี้นับเป็นแนวพระราชดำริ ที่เป็นแบบฉบับแก่ชุมชนทั้งหลายทั่วประเทศ ได้ดำเนินการเจริญรอยตามพระยุคลบาท โดยยึดการดำเนินงานที่แหลมผักเบี้ยเป็นต้นแบบ

“กังหันน้ำชัยพัฒนา”
โดยปกติคุณภาพน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเช่น แม่น้ำ ลำธาร จะมีปริมาณออกซิเจน อิ่มตัวที่ละลายอยู่ในน้ำประมาณ ๘ มิลลิกรัมต่อลิตร หากเมื่อใดมีการปล่อยของเสียลงไปเป็นปริมาณมาก ก็จะก่อให้เกิดผลกระทบทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำลดน้อยลง เนื่องจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในน้ำตามธรรมชาติได้ดึงเอาออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเพื่อนำไปใช้ในการย่อยสลายความสกปรกที่อยู่ในรูปของสารอินทรีย์ ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดน้อยลงเรื่อยๆ จนกระทั่งน้ำขาดออกซิเจนอันก่อให้เกิดสภาวะน้ำเน่าเสีย ทำให้สัตว์น้ำโดยเฉพาะกุ้งและปลาไม่สามารถอาศัยอยู่ได้อีกต่อไป การเติมอากาศลงในน้ำจึงเป็นวิธีการที่จะช่วยรักษาปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ

ให้คงระดับที่สิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำสามารถอาศัยอยู่ได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ควรมีปริมาณไม่น้อยกว่า ๔ มิลลิกรัมต่อลิตร
วิธีธรรมชาติ
การบำบัดน้ำเน่าเสียโดยวิธีธรรมชาติโครงการบำบัดน้ำเน่าเสีย โดยวิธีธรรมชาติซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษา ทดลอง และวิจัยเพื่อหาข้อสรุปที่เหมาะสมกับแต่ละสภาพพื้นที่ประกอบด้วย
๑. เริ่มด้วยเทศบาลเมืองเพชรบุรี ดำเนินการสร้างท่อระบายรวบรวมน้ำเสีย (Combine Waste Water System) ส่งน้ำเสีย ไปยังสถานีสูบน้ำเสียที่คลองยาง ที่จุดนี้จะทำหน้าที่เป็นบ่อดักขยะเป็นบ่อตกตะกอนขึ้นต้นที่สามารถลดค่าความสกปรกไปได้ถึง ๔๐% 

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

รู้ค่าพลังงาน ตอน บำบัดน้ำเสียฯ



วิธีการแก้ปัญหา



   •การบำบัดน้ำเสียขั้นเตรียมการ (Pretreatment)
   -การดักด้วยตะแกรง เป็นการกำจัดของแข็งขนาดใหญ่โดยใช้ตะแกรง โดยใช้ ตะแกรงหยาบและ     ตะแกรงละเอียด
   -การบดตัดเป็นการลดขนาดหรือปริมาตรของแข็งให้เล็กลง ใช้เครื่องบดตัดให้ละเอียด ก่อนแยก     ออกด้วยการตกตะกอน
   -การดักกรวดทราย เป็นการกำจัดพวกกรวดทรายทำให้ตกตะกอนในรางดักกรวดทราย โดยการ         ลดความเร็วน้ำลง
   -การกำจัดไขมันและน้ำมันเป็นการกำจัดไขมันและน้ำมันซึ่งมักอยู่ในน้ำเสียที่มาจากครัว โรง           อาหาร ห้องน้ำ ปั๊มน้ำมัน และโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดโดยการกักน้ำเสียไว้ในบ่อดักไขมัน       ในช่วงเวลาหนึ่งเพื่อให้น้ำมันและไขมันลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำแล้วใช้เครื่องตักกวาดออกจากบ่อ



 •การบำบัดน้ำเสียขั้นที่สอง (Secondary Treatment)
    โดยทั่วไปมักจะเรียกการบำบัด ขั้นที่สองนี้ว่า "การบำบัดน้ำเสียด้วยขบวนการทาง                           ชีววิทยา" เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลาย หรือทำลายความสกปรก     ในน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียในปัจจุบันนื้อย่างน้อยจะต้องบำบัดถึงขั้นที่สองนี้ เพื่อให้น้ำเสียที่            ผ่าน การบำบัดแล้วมีคุณภาพมาตรฐานน้ำทิ้งที่ทางราชการกำหนดไว้ 




 • การบำบัดน้ำเสียขั้นสูง (Advanced Treatment)
    เป็นการบำบัดน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดในขั้นที่สองมาแล้ว เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกบางอย่างที่ยัง           เหลืออยู่ เช่น โลหะหนัก หรือเชื้อโรคบางชนิดก่อนจะระบายน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะการ         บำบัดขั้นนี้มักไม่นิยมปฏิบัติกัน เนื่องจากมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง 

สรุปประโยชน์ที่ได้จาการศึกษาและการนำไปใช้


•ทำให้เราได้ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย
•ทราบวิธีที่บำบัดน้ำเสีย
•นำข้อมูลที่ทราบไปบอกกับผู้คนในชุมชน เพื่อให้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสีย
•รักษาธรรมชาติ
•เพื่อป้องกันมิให้สัตว์น้ำเน่าตายจากสาเหตุน้ำเสีย
•เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีให้ผู้คนในชุมชนรับผิดชอบ และดูแลธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

แหล่งอ้างอิงข้อมูลที่น่าเชื่อถือ